ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
หน้าแรก > ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
ประวัติความเป็นมา
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมใช้ชื่อว่า สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. สังกัดกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 โดยให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาสังคม ฟื้นฟูและพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท อาทิ เด็ก เยาวชน สตรีคนพิการ ผู้ติดเชื้อ และผู้สูงอายุ ในปี 2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดได้ย้ายไปสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดร้อยเอ็ด และภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 เป็นราชการส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนกระทรวงในจังหวัด มีภารกิจหลักในการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงใน ชีวิตสถาบันครอบครัวและชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
บทบาทและหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
1. จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมฯ ในระดับจังหวัด/เสนอแนะแนวทางแก้ไข
2. ประสานการจัดทำแผนงานโครงการ/กิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด
3. ส่งเสริมและประสานการดำเนินงานจัดกิจกรรมต่างๆ ตามภารกิจและเป้าหมายของ หน่วยงานในกระทรวง
4. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานกับเครือข่ายในจังหวัด
5. ส่งเสริม ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม
6. กำกับการดูแลหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ให้ดำเนินการตามกฎหมาย/นโยบายและติดตามประเมินผลฯ
7. เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด
8. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ให้มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
9. รับเรื่องราวร้องทุกข์ และแก้ไขปัญหาสังคมในระดับจังหวัด
10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย