1.การรับรององค์กรที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

2.การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การสวัสดิการสังคม

3.การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมของนักสังคมสงเคราะห์

4.การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมของอาสาสมัคร

5.การรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน

6.การรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์

7.การออกบัตรประจำตัวคนพิการ กรณี การขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

8.การออกบัตรประจำตัวคนพิการ กรณี บัตรหมดอายุ บัตรชำรุด บัตรสูญหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญของบัตรประจำตัวคนพิการ

9.การออกบัตรประจำตัวคนพิการ กรณี การยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ

10.การออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

11.การรับจดทะเบียนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน

12.การขอรับอนุญาตให้ตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน

13.การขอรับใบอนุญาตให้ตั้งสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู

14.ต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานรองรับเด็กเอกชน (สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาฟื้นฟู)

15.การจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ (กรณีขออุปการะเด็กที่อยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์)

16.การจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ (กรณีขออุปการะเด็กถูกทอดทิ้งที่มีผู้เลี้ยงดูในครอบครัว)

17.ให้คำปรึกษาเยียวยาก่อนเลิกรับบุตรบุญธรรม

 
คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร

ผู้ปกครอง

  • มีสัญชาติไทย
  • เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย

เด็กแรกเกิด

  • มีสัญชาติไทย
  • อายุไม่เกิน 6 ปี
  • อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
  • ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
เอกสารยื่นเงินอุดหนุนบุตร
  • แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
  • แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
  • สูติบัตรเด็กแรกเกิด
  • สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (กรุงไทย, ออมสิน หรือ ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์)
  • ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนในครัวเรือนที่มีรายได้ประจำ
  • สำเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตำแหน่ง หรือเอกสารอื่นใด ที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
สถานที่รับลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร
  • กรุงเทพมหานคร : ณ สำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา : ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • ส่วนภูมิภาค : ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล
ลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตรออนไลน์

ผู้ปกครองต้องยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน ThaiD ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันของกรมการปกครองก่อน การยืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน ThaiD 

ต้องทำการพิสูจน์ตัวตนครั้งแรกที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต และต้องแนบเอกสารประกอบการลงทะเบียนในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ 

ซึ่งประกอบด้วย

  1. หลักฐานเพื่อรับรองสถานะครัวเรือน รวมถึงภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเอกสารอื่นที่แสดงสถานะหรือตำแหน่งของผู้รับรอง
  2. ใบรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองรายได้ของสมาชิกในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
  3. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้นและผ่านการตรวจสอบสิทธิ์แล้ว ผู้ปกครองจะได้รับเงินอุดหนุนบุตร โดยมีผลตั้งแต่เดือนที่ทำการลงทะเบียน
วิธีลงทะเบียน เงินอุดหนุนบุตร ออนไลน์ บนแอป “เงินเด็ก”
  1. ผู้ปกครองเดินทางไปพิสูจน์ตัวตนครั้งแรก ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตใกล้บ้าน (ทำครั้งแรกครั้งเดียว)
  2. โหลดแอปเงินเด็ก
  3. โหลดแอป ThaiD ของกรมการปกครอง
  4. เข้าแอปเงินเด็ก แล้วยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD
  5. เมื่อยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจะสมารถข้าไปกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนผ่านแอปเงินเด็ก และติดตามสถานะการรับเงินได้

แบบคำร้อง

เอกสาร

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial